วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ชิ้นงานที่ 2 ส่วนที่ 3



ยีนและโครโมโซม
รูปที่ 1 รูปแสดงลักษณะของยีน
       ยีน( Gene ) หมายถึง ส่วนของ DNA ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่มี DNA และโปรตีนเป็นองค์ประกอบโครโมโซมจึงเป็นที่อยู่ของยีน และในแต่ละโครโมโซมมียีนอีกมากมายมาเรียงต่อๆกันดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดไปจึงถูกควบคุม โดยยีนในโครโมโซมนั่นเอง                                                                                                                                         
 ยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมบางอย่างมี 2 ชนิด คือ
       1. ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงลักษณะนั้นๆ ออกมาได้ แม้มียีนนั้นเพียงยีนเดียว
       2. ยีนด้อย (recessive gene) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ ก็ต่อเมื่อมียีนด้อยทั้งสองยีนอยู่บนคู่โครโมโซม

         โครโมโซม ( Chromosome ) คือ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตเช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
 
รูปที่ 2 ลักษณะรูปร่างของโครโมโซม
ที่มา http://thaigoodview.com/
ลักษณะของโครโมโซม
               ในภาวะปกติเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบางๆ เรียกว่า โครมาติน (chromatin) ” ขดตัวอยู่ในนิวเคลียสเมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว เส้นโครมาตินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง จึงเรียกว่า โครโมโซมแต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า โครมาทิด (chromatid) ”ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า เซนโทรเมียร์ ( centromere)
รูปที่ 3 รูปแสดงสายโซ่ DNA
          โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัว โครโมโซมจะยืดยาวออกคล้ายเส้นใยเล็กๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม โดยโครโมโซมจะจำลองตัวเองขึ้นมา เป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ แล้วค่อยๆ ขดตัวสั้นเข้า โครโมโซมจะโตมาก
รูปที่ 4 รูปแสดงโครโมโซม
ที่มา http://maceducation.com/
การศึกษาโครโมโซมจึงต้องศึกษาในระยะแบ่งเซลล์ ถ้ามีเทคนิคในการเตรียมที่ดี ก็จะสามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะ ของโครโมโซมจากกล้องจุลทรรศน์ และอาจนับจำนวนโครโมโซมได้
 รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนโครโมโซม
              แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองในระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) เพื่อจะแยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส anaphase ของการแบ่งเซลล์โครมาทิดทั้งสองจะติดกันอยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) รวมเรียกเซนโทรเมียร์แบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละโครมาทินก็เรียกว่าโครโมโซม นั่นคือ 1 โครโมโซม มี 1 เซนโทรเมียร์ โครโมโซม ของเซลล์ร่างกายจะอยู่กันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome)การนำโครโมโซมขนาดต่างๆ มาเรียงกันกันเรียกว่า แครีโอไทป์ (Karyotype) โดยจำแนกตามลักษณะ ขนาด และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์อาจจะอยู่ตรงกลาง ค่อนไปทางปลาย หรือ ปลายโครโมโซม จึงแบ่งลักษณะโครโมโซมเป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้
1. Metacentric เมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่น 2 ข้างออกจากเซนโทรเมียร์เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน
2. Submetacentric ซับเมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่นออกมา 2 ข้างจากเซนโทรเมียร์ไม่เท่ากัน
3. Acrocentric อะโครเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่ง โดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ใกล้กับปลายข้างใดข้างหนึ่ง จึงเห็นส่วนเล็กๆ ยื่นออกจากเซนโทรเมียร์
4. Telocentric เทโลเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแท่ง โดยมีเซนโทรเมียร์อยู่ตอนปลายสุดของโครโมโซม
โครมาทิต 2 โครมาทิต มีตัวเชื่อมคือ เซนโทรเมียร์
รูปที่ 5  รูปแสดงโครโมโซม
ที่มาhttp://maceducation.com/
คำถาม
1) เซลล์โครมาทินที่ขดกันแน่นมากขึ้นและหดสั้นลง มีลักษณะเป็นแท่งเรียกว่าอะไร
2) ยีนเด่น คืออะไร
3) โครโมโซมแต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ชิ้นงานที่ 2 ส่วนที่2

การลักษณะทางพันธุกรรม
ที่ไม่เป็นไปตามกฏของเมนเดล

ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)


   
รูปที่ 1 ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์
 ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล เช่น สีของดอกบานเย็น   จากการศึกษาพบว่า สีของดอกบานเย็นควบคุมด้วย 2 แอลลีล
         ถ้าให้
         RR    แสดงลักษณะดอกสีแดง               R’R’  แสดงลักษณะดอกสีขาว
         R R’  แสดงลักษณะดอกสีชมพู
     จากกฎของเมนเดลลูกที่เกิดในรุ่น F1 ควรจะเป็นสีแดงหรือสีขาว แต่จากการศึกษาพบว่าลูกที่เกิดใน F1 เป็นสีชมพูทั้งหมด เมื่อนำ F1 มาผสมกัน F2 เป็นดอกสีแดง ชมพู และขาว ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1แสดงว่า ลักษณะสีของดอกบานเย็น เป็นลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)และไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

การข่มร่วมกัน(Codominance)

 รูปที่ 2การข่มร่วมกัน
ที่มา http://thaigoodview.com/
                ลักษณะทางพันธุกรรมบางชนิดถูกควบคุมโดยแอลลีล ที่มีความสามารถในการแสดงออกได้เท่าๆ กันเช่น หมู่เลือดระบบ ABO ในคน ซึ่งจำแนกตามชนิดของแอนติเจน ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
หมู่เลือด                A มี แอนติเจน A   หมู่เลือB มี แอนติเจน Bจากการศึกษาพบว่า พ่อและแม่ที่มียีนควบคุม
หมู่เลือด A และ B ที่เป็นฮอมอไซกัสจะได้ลูกที่มีหมู่เลือด ABแสดงว่า แอลลีล IA และ IB แสดงลักษณะเด่นได้เท่า ๆ กัน จึงแสดงออกร่วมกันเรียกว่า การข่มร่วมกัน (Codominance)

มัลติเปิลแอลลีล (Multiple Alleles)

รูปที่ 3มัลติเปิลแอลลีล
             ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะ เช่น หมู่เลือดระบบ ABOในคนถูกควบคุมด้วย ยีนตำแหนเดียว(Single locus) แต่มีแอลลีล มากกว่า 2 แบบคือ แอลลีลIA IB และ i เรียกยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีลใน 1 โลคัสว่า มัลติเปิลแอลลีล(Multiple Alleles) โดยแอลลีล IA ควบคุมการสร้างแอนติเจน A  บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแอลลีล IB ควบคุมการสร้างแอนติเจน Bบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง  แอลลีล i ไม่ควบคุมการสร้างแอนติเจน A และแอนติเจน B ทำให้หมู่เลือดในระบบ ABO มีจีโนไทป์ และพีโนไทป์ ดังตารางแสดงว่า แอลลีล IA IB สามารถข่ม แอลลีล i ได้แต่ไม่สามารถข่มกันเองได้ IA IB จึงเป็นการข่มร่วมกันและเป็นมัลติเปิลแอลลีลเมื่อพ่อหมู่เลือด A แม่หมู่เลือด B ลูกจะมีโอกาสมีหมู่เลือด A , B , AB และ O


ยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศ

รูปที่ 4โครโมโซมของคนมี 46 แท่ง หรือ 23 คู่
ที่มา http://sarinp.com/

                   นอกจากยีนบนออโตโซมจะยึดเรียงกันแล้วยังมีพันธะบนโครโมโซมเพศด้วย (sex linkage) ซึ่ง ที่ เอช มอร์แกน (T.H.Morgan) เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1910 จากการทดลองเลี้ยงแมลงหวี่เป็นพันๆตัว ซึ่งเป็นลักษณะตาสีแดง ปรากฏว่ามีบางตัวตาสีขาว เมื่อนำตัวผู้ตาสีขาวมาผสมกับตัวเมียที่มีตาสีแดงปกติแล้ว ได้ลักษณะรุ่นลูกซึ่งพบตัวผู้ตัวเมียมีตาสีแดง แต่เมื่อเอา F1 ผสมกันเองได้ F2 ตัวผู้มีทั้งตาสีขาวและตาสีแดงโดยได้อัตราส่วนตาสีแดง : ตาสีขาวเท่ากับ 3 : 1 และพบว่าแมลงหวี่ที่ตาสีขาวเป็นตัวผู้ทั้งหมด ลักษณะตาสีขาวนี้จึงดูคล้ายกับว่าจะเกี่ยวข้องกับเพศ การทดลองต่อไปก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
          ตามปกติจีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆมักอยู่ที่ออโตโซม แต่มีลักษณะบางอย่างที่ถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ เช่น ลักษณะตาสีขาวของแมลงหวี่พบเฉพาะในเพศผู้ โรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophilia) โรคตาบอดสี เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะด้อยที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ


ยีนในโครโมโซมเดียวกัน
                 ยีนในโครโมโซมเดียวกันจะถ่ายทอดไปด้วยกัน เรียกยีนเหล่านี้ว่า ลิงค์เกจ (linkage) ทำให้ลักษณะบางลักษณะปรากฏคู่กัน เช่น ลักษณะปีก และสีตัวของแมลงหวี่  แต่ลิงค์ยีนอาจแยกจากกันและเกิด การรวมกลุ่มของยีนใหม่ (gene recombination) จากการ ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) ของฮอมอโลกัสโครโมโซมในระยะโพรเฟส 1 ของไมโอซิส ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม ซึ่งมีความสำคัญต่อวิวัฒนาการ เช่นตัวสีดำปีกตรง และตัวสีน้ำตาลปีกโค้งในรุ่น F1   การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มยีน จะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ระยะห่างระหว่างยีน 2 กลุ่ม

พันธุกรรมที่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเพศ
(Sex influenced traits)

รูปที่ 5 พันธุกรรมที่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเพศ
ที่มา http://thaigoodview.com/
               ลักษณะบางลักษณะที่ถูกควบคุมโดย ยีนเด่นบน ออโทโซมอาจแสดงออกไม่เท่ากันเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศได้  เช่น ลักษณะศีรษะล้าน พบว่าการแสดงออกของยีน ขึ้นอยู่ กับอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย แม้ว่าจะมีจีโนไทป์เหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะหัวล้านปรากฏในเพศชายมากกว่าเพศหญิง


พันธุกรรมจำกัดเพศ  (Sex limited traits)
                                ลักษณะพันธุกรรมบางลักษณะที่ควบคุมโดยยีนบนออโทโซมที่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายในร่างกายของแต่ละเพศ เช่น ลักษณะขนหางของไก่  ไก่เพศผู้มีขนหางได้ 2 แบบ คือ ขนหางสั้น และขนหางยาว ส่วนไก่เพศเมียมีเฉพาะขนหางสั้นเท่านั้น การมีขนหางยาวจึงถูกจำกัดให้แสดงออกเฉพาะในไก่เพศผู้เท่านั้นไม่ว่าจะมีจีโนไทป์แบบใดก็ตาม  ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกเฉพาะเพศ เรียกว่า พันธุกรรมจำกัดเพศ


คำถาม
1. ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน จะถ่ายทอดลักษณะไปด้วยกันเรียกว่าอะไร
2. ใครเป็นผู้ค้นพบคนยีนที่อยู่บนออโตโซมที่ยึดเรียงกันแล้วยังมีพันธะบนโครโมโซมด้วย
3. พ่อและแม่ที่มียีนควบคุมหมู่เลือด A และ B ที่เป็นฮอมอไซกัสจะได้ลูกที่มีหมู่เลือด ABแสดงว่า แอลลีล IA และ IB แสดงลักษณะเด่นได้เท่า ๆ กัน การแสดงออกร่วมกันนี้เรียกว่าอะไร

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาระงานที่2 ส่วนที่1



ภาระงานที่2 ส่วนที่ 1
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
รูปที่ 1  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ มายังลูก
ที่มา  http://myfirstbrain.com/
                   การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอักรุ่นหนึ่งได้  โดยทางยีน ซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมซึ่งควบคุการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต  ยีนจะอยู่บนโครโมโซมและโคโมโซมจะอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ โดย ยีนA โครโมโซมแท่งหนึ่ง และยีน a บนโครโมโซมอีกแท่งหนึ่งลักษณะใบหน้าที่ปรากฏออกมาจึงขึ้นอยู่กับว่ายีนที่อยู่บนโครโมโซมทั้งสองเป็นยีนที่ควบคุม หรือกำหนดให้มีลักษณะใบหน้าเป็นแบบใด ในการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โครโมโซมแต่ละคู่จะแยกจากกัน ไปอยู่ในเซลล์ใหม่ทำให้ยีนที่อยู่บนโครโมโซมแยกกันไปด้วย และเมื่อเซลล์ไข่และอสุจิมารวมกันในการปฏิสนธิยีนก็จะมาเข้าคู่กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งยีนคู่ใหม่ที่ได้นี้ครึ่งหนึ่งจะมาจากพ่อส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะมาจากแม่ เซลล์ใหม่ที่ได้จึงมียีนของทั้งพ่อและแม่รวมกันและได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่มาด้วย

การศึกษาลักษณะพันธุกรรมของเมนเดล
             เมื่อปี พ.ศ. 2408 เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล บาทหลวงชาว ออสเตรียซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ได้อธิบายลักษณะบางประการของสิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏในรุ่นลูกซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวจากพ่อแม่ผ่านทางเซลล์สืบพันธ์
           เมนเดลเมนเดลทำการทดลองจนประสบผลสำเร็จในการทดลองและตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานในชั่วต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ ในการทดลองคือถั่วลันเตา(Pisum sativum) ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจนความสำเร็จ เนื่องมาจากหลายเหตุผล
-   ชนิดของพืช เมนเดลเลือกถั่วลันเตา Pisum sativum ซึ่งปลูกได้ง่าย โตเร็ว ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว                                        -    จำนวนของรุ่นลูก ถั่วลันเตา Pisum sativum ขยายพันธุ์เร็วและให้รุ่นลูกจำนวนมาก ทำให้สามารถนำมาคำนวณอัตราส่วนทางคณิตศาสตร์ได้ง่ายและมีค่าทางสถิติที่
น่าเชื่อถือ                                                                                                    
  -   ลักษณะของดอก ดอกของถั่วลันเตา Pisum sativum เป็น ดอกสมบูรณ์เพศ ( perfect flower)ที่มีกลีบดอกปิดมิดชิด ทำให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (self fertilization) และได้สายพันธุ์แท้ (pure line)  ทำให้มั่นใจว่าลักษณะเด่นที่ได้ตามธรรมชาติ                                                                                                                                                                                      -   การผสมของดอก ดอกของถั่วลันเตาผสมได้ง่าย และเกิดการปฏิสนธิได้ดี ทั้งการผสมในดอกเดียวกันตามธรรมชาติ หรือการผสมข้ามดอกที่เมนเดลทำการทดลอง ก็สามารผสมและเกิดการปฏิสนธิได้ง่าย                                                                   
-   ลักษณะที่เลือกศึกษา เมนเดลเลือกศึกษาลักษณะของถั่วลันเตา Pisum sativum โดยทำการศึกษาการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะ 7 ลักษณะคือ ความสูงลำต้น ลักษณะฝัก สีฝัก สีเมล็ด ผิวเมล็ด สีดอก และตำแหน่งการออกดอก ซึ่งลักษณะทั้ง 7 นั้น มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการจำแนกลักษณะทางพันธุกรรมของลูกหลานที่เกิดขึ้น และสามารถนับเพื่อนำไปคำนวณอัตราส่วนได้ง่าย
-   ลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตาที่ศึกษา ในสมัยเมนเดลยังไม่ทราบเรื่องของยีน แต่เป็นความโชคดีที่เมนเดลเลือกศึกษาลักษณะ 7 ลักษณะของ ถั่วลันเตา Pisum sativum ซึ่งลักษณะทั้ง 7 นั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบปกติ ข่มสมบูรณ์ โดยไม่มี linkage gene, multiple alleles, poly gene , codominance  ทำให้สามารถคำนวณพิจารณาแยกลักษณะทั้ง 7 ทีละลักษณะได้ง่าย หรือคำนวณตามหลักความน่าจะเป็นได้เพราะโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ (ลักษณะ) ทั้ง 7 นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันและเป็นอิสระต่อกัน
-   จำนวนชุดโครโมโซมของพืช เมนเดลยังมีความโชคดีที่บังเอิญเลือกถั่วลันเตา Pisum sativum ซึ่งเป็นพืช Diploid ที่มีโครโมโซมจำนวน 2 ชุด (2n) ทำให้สอดคล้องกับลักษณะที่มีความแตกต่างกัน 2 ลักษณะชัดเจน

รูปที่2 ... ลักษณะของฝัก – ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted); ลักษณะสีของฝัก ..
ที่มา http://thaigoodview.com/
    
          เมนเดลเป็นนักคณิตศาสตร์และสถิติ จึงนำกฎความน่าจะเป็น  มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลอง เพื่ออธิบายอัตราส่วนของลักษณะเด่นและลักษณะด้อยในรุ่น F2 ที่เกิดขึ้น ดังนี้

กฎแห่งความน่าจะเป็น (probability)
รูปที่3 การคำนวณจากผลลัพธ์
          ในการโยนเหรียญบาทขึ้นไปในอากาศแล้วปล่อยให้ตกลงสู่พื้นโดยอิสระ โอกาสที่เหรียญจะตกลงมา แล้วออกหัวและก้อยได้เท่ากัน  ถ้าโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมๆกัน โอกาสที่เป็นไปได้มี 3 แบบ คือ แบบที่ 1 ออกหัวทั้ง 2 เหรียญ แบบที่ 2 ออกหัว 1 เหรียญ และออกก้อย 1 เหรียญ แบบที่ 2 ออกก้อยทั้ง 2 เหรียญ โดยอัตราส่วนแบบที่ 1 : แบบที่ 2: แบบที่ 3 เท่ากัน
        ในกรณีของการผสมพันธุ์ถั่วลันเตารุ่น F1 ซึ่งมีฟีโนไทป์เป็นฝักสีเขียว และมีจีโนไทป์เป็น Ggอาจเปรียบได้กับเหรียญที่มีหน้าหนึ่งเป็น G อีกหน้าหนึ่งเป็น g การผสมระหว่างรุ่น  F1  และรุ่น F1  จึงเท่ากับเป็นการโยนเหรียญขึ้นไปอากาศพร้อมๆกัน 2 เหรียญ โอกาสที่ยีนในรุ่น F2 จะเข้าคู่กันได้เป็น 3 แบบ คือ GG Gg และ gg โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ 1 :2: 1 และมีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ ฝักสีเขียวกับฝักสีเหลือง ในอัตราส่วน 3:1 ดังนั้นปัญหาที่สงสัยว่าอัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในรุ่น  F2เหตุใดจึงเท่ากับ 3:1 สามารถอธิบายด้วยกฎของความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เมนเดลประสบความสำเร็จในการทดลอ

กฎแห่งการแยกตัวและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (LAW OF SEGREGATION )

รูปที่4 ตัวอย่างแสดงกฎแห่งการแยกตัว
ที่มาhttp://learners.in.th/
          มีใจความว่า สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะแยกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทำให้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีหน่วยควบคุมลักษณะนี้เพียง 1 หน่วย และ จะกลับมาเข้าคู่อีกเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกัน 


กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (LAW OF INDEPENDENT ASSORTMENT)
รูปที่5 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ .
ที่มา http://e-learningsisaket.com/
         มีใจความว่า  ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรม ของลักษณะต่างๆ การรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปได้อย่างอิสระ จึงทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูก และรุ่นหลาน

คำถาม
1) จากกฎแห่งการแยกตัว ยีนจะอยู่กันเป็นคู่ๆ จะแยกออกจากกันต่อเมื่อใด
2)เพราะเหตุใดเมนเดลจึงเลือกใช้ถั่วลลันเตาในการทดลอง
3)เมนเดลใช้กฎทางคณิตศาสตร์ใดในการวิเคราะห์ข้อมูลในการทดลองนี้