วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ชิ้นงานที่ 2 ส่วนที่2

การลักษณะทางพันธุกรรม
ที่ไม่เป็นไปตามกฏของเมนเดล

ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)


   
รูปที่ 1 ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์
 ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล เช่น สีของดอกบานเย็น   จากการศึกษาพบว่า สีของดอกบานเย็นควบคุมด้วย 2 แอลลีล
         ถ้าให้
         RR    แสดงลักษณะดอกสีแดง               R’R’  แสดงลักษณะดอกสีขาว
         R R’  แสดงลักษณะดอกสีชมพู
     จากกฎของเมนเดลลูกที่เกิดในรุ่น F1 ควรจะเป็นสีแดงหรือสีขาว แต่จากการศึกษาพบว่าลูกที่เกิดใน F1 เป็นสีชมพูทั้งหมด เมื่อนำ F1 มาผสมกัน F2 เป็นดอกสีแดง ชมพู และขาว ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1แสดงว่า ลักษณะสีของดอกบานเย็น เป็นลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)และไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

การข่มร่วมกัน(Codominance)

 รูปที่ 2การข่มร่วมกัน
ที่มา http://thaigoodview.com/
                ลักษณะทางพันธุกรรมบางชนิดถูกควบคุมโดยแอลลีล ที่มีความสามารถในการแสดงออกได้เท่าๆ กันเช่น หมู่เลือดระบบ ABO ในคน ซึ่งจำแนกตามชนิดของแอนติเจน ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
หมู่เลือด                A มี แอนติเจน A   หมู่เลือB มี แอนติเจน Bจากการศึกษาพบว่า พ่อและแม่ที่มียีนควบคุม
หมู่เลือด A และ B ที่เป็นฮอมอไซกัสจะได้ลูกที่มีหมู่เลือด ABแสดงว่า แอลลีล IA และ IB แสดงลักษณะเด่นได้เท่า ๆ กัน จึงแสดงออกร่วมกันเรียกว่า การข่มร่วมกัน (Codominance)

มัลติเปิลแอลลีล (Multiple Alleles)

รูปที่ 3มัลติเปิลแอลลีล
             ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะ เช่น หมู่เลือดระบบ ABOในคนถูกควบคุมด้วย ยีนตำแหนเดียว(Single locus) แต่มีแอลลีล มากกว่า 2 แบบคือ แอลลีลIA IB และ i เรียกยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีลใน 1 โลคัสว่า มัลติเปิลแอลลีล(Multiple Alleles) โดยแอลลีล IA ควบคุมการสร้างแอนติเจน A  บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแอลลีล IB ควบคุมการสร้างแอนติเจน Bบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง  แอลลีล i ไม่ควบคุมการสร้างแอนติเจน A และแอนติเจน B ทำให้หมู่เลือดในระบบ ABO มีจีโนไทป์ และพีโนไทป์ ดังตารางแสดงว่า แอลลีล IA IB สามารถข่ม แอลลีล i ได้แต่ไม่สามารถข่มกันเองได้ IA IB จึงเป็นการข่มร่วมกันและเป็นมัลติเปิลแอลลีลเมื่อพ่อหมู่เลือด A แม่หมู่เลือด B ลูกจะมีโอกาสมีหมู่เลือด A , B , AB และ O


ยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศ

รูปที่ 4โครโมโซมของคนมี 46 แท่ง หรือ 23 คู่
ที่มา http://sarinp.com/

                   นอกจากยีนบนออโตโซมจะยึดเรียงกันแล้วยังมีพันธะบนโครโมโซมเพศด้วย (sex linkage) ซึ่ง ที่ เอช มอร์แกน (T.H.Morgan) เป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1910 จากการทดลองเลี้ยงแมลงหวี่เป็นพันๆตัว ซึ่งเป็นลักษณะตาสีแดง ปรากฏว่ามีบางตัวตาสีขาว เมื่อนำตัวผู้ตาสีขาวมาผสมกับตัวเมียที่มีตาสีแดงปกติแล้ว ได้ลักษณะรุ่นลูกซึ่งพบตัวผู้ตัวเมียมีตาสีแดง แต่เมื่อเอา F1 ผสมกันเองได้ F2 ตัวผู้มีทั้งตาสีขาวและตาสีแดงโดยได้อัตราส่วนตาสีแดง : ตาสีขาวเท่ากับ 3 : 1 และพบว่าแมลงหวี่ที่ตาสีขาวเป็นตัวผู้ทั้งหมด ลักษณะตาสีขาวนี้จึงดูคล้ายกับว่าจะเกี่ยวข้องกับเพศ การทดลองต่อไปก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
          ตามปกติจีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆมักอยู่ที่ออโตโซม แต่มีลักษณะบางอย่างที่ถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ เช่น ลักษณะตาสีขาวของแมลงหวี่พบเฉพาะในเพศผู้ โรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophilia) โรคตาบอดสี เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะด้อยที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ


ยีนในโครโมโซมเดียวกัน
                 ยีนในโครโมโซมเดียวกันจะถ่ายทอดไปด้วยกัน เรียกยีนเหล่านี้ว่า ลิงค์เกจ (linkage) ทำให้ลักษณะบางลักษณะปรากฏคู่กัน เช่น ลักษณะปีก และสีตัวของแมลงหวี่  แต่ลิงค์ยีนอาจแยกจากกันและเกิด การรวมกลุ่มของยีนใหม่ (gene recombination) จากการ ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) ของฮอมอโลกัสโครโมโซมในระยะโพรเฟส 1 ของไมโอซิส ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม ซึ่งมีความสำคัญต่อวิวัฒนาการ เช่นตัวสีดำปีกตรง และตัวสีน้ำตาลปีกโค้งในรุ่น F1   การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มยีน จะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ระยะห่างระหว่างยีน 2 กลุ่ม

พันธุกรรมที่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเพศ
(Sex influenced traits)

รูปที่ 5 พันธุกรรมที่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเพศ
ที่มา http://thaigoodview.com/
               ลักษณะบางลักษณะที่ถูกควบคุมโดย ยีนเด่นบน ออโทโซมอาจแสดงออกไม่เท่ากันเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศได้  เช่น ลักษณะศีรษะล้าน พบว่าการแสดงออกของยีน ขึ้นอยู่ กับอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย แม้ว่าจะมีจีโนไทป์เหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะหัวล้านปรากฏในเพศชายมากกว่าเพศหญิง


พันธุกรรมจำกัดเพศ  (Sex limited traits)
                                ลักษณะพันธุกรรมบางลักษณะที่ควบคุมโดยยีนบนออโทโซมที่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายในร่างกายของแต่ละเพศ เช่น ลักษณะขนหางของไก่  ไก่เพศผู้มีขนหางได้ 2 แบบ คือ ขนหางสั้น และขนหางยาว ส่วนไก่เพศเมียมีเฉพาะขนหางสั้นเท่านั้น การมีขนหางยาวจึงถูกจำกัดให้แสดงออกเฉพาะในไก่เพศผู้เท่านั้นไม่ว่าจะมีจีโนไทป์แบบใดก็ตาม  ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกเฉพาะเพศ เรียกว่า พันธุกรรมจำกัดเพศ


คำถาม
1. ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน จะถ่ายทอดลักษณะไปด้วยกันเรียกว่าอะไร
2. ใครเป็นผู้ค้นพบคนยีนที่อยู่บนออโตโซมที่ยึดเรียงกันแล้วยังมีพันธะบนโครโมโซมด้วย
3. พ่อและแม่ที่มียีนควบคุมหมู่เลือด A และ B ที่เป็นฮอมอไซกัสจะได้ลูกที่มีหมู่เลือด ABแสดงว่า แอลลีล IA และ IB แสดงลักษณะเด่นได้เท่า ๆ กัน การแสดงออกร่วมกันนี้เรียกว่าอะไร

4 ความคิดเห็น: